วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ (อังกฤษ: factorization) ในทางคณิตศาสตร์ หมายถึงการแบ่งย่อยวัตถุทางคณิตศาสตร์ (เช่น จำนวน พหุนาม หรือเมทริกซ์) ให้อยู่ในรูปผลคูณของวัตถุอื่น ซึ่งเมื่อคูณตัวประกอบเหล่านั้นเข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์ดังเดิม ตัวอย่างเช่น จำนวน 15 สามารถแยกตัวประกอบให้เป็นจำนวนเฉพาะได้เป็น 3 × 5 และพหุนาม x2 − 4 สามารถแยกได้เป็น (x − 2)(x + 2) เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการแยกตัวประกอบคือการลดทอนวัตถุให้เล็กลง อาทิ จากจำนวนไปเป็นจำนวนเฉพาะ จากพหุนามไปเป็นพหุนามลดทอนไม่ได้ (irreducible polynomial) การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ส่วนการแยกตัวประกอบพหุนามเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต สำหรับพหุนาม สิ่งที่ตรงข้ามกับการแยกตัวประกอบคือการกระจายพหุนาม (polynomial expansion) ซึ่งเป็นการคูณตัวประกอบทุกตัวเข้าด้วยกันเป็นพหุนามใหม่
การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มสำหรับจำนวนขนาดใหญ่อาจกลายเป็นข้อปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งไม่มีวิธีใดที่สามารถแยกตัวประกอบจำนวนขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว แต่ความยุ่งยากนี้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาความปลอดภัยในขั้นตอนวิธีของการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร อย่างเช่น RSA
สำหรับการแยกตัวประกอบของเมทริกซ์เรียกว่า การแยกเมทริกซ์ (matrix decomposition) ซึ่งมีวิธีการที่เหมาะสมแตกต่างกันไปสำหรับเมทริกซ์นั้นๆ เช่น การแยกแบบคิวอาร์ (QR decomposition) เป็นต้น วิธีหลักอย่างหนึ่งที่นิยมคือการทำให้เป็นผลคูณของ เมทริกซ์เชิงตั้งฉาก (orthogonal matrix) หรือเมทริกซ์ยูนิแทรี (unitary matrix) กับเมทริกซ์แบบสามเหลี่ยม (triangular matrix)
อีกตัวอย่างหนึ่งของการแยกตัวประกอบคือการแยกฟังก์ชันให้กลายเป็นการประกอบฟังก์ชัน (function composition) กับฟังก์ชันอื่นโดยมีเงื่อนไขที่เจาะจง ตัวอย่างเงื่อนไขเช่น ฟังก์ชันทุกฟังก์ชันสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการประกอบของฟังก์ชันทั่วถึง (surjective function) กับฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง (injective function) เป็นต้น
การแยกตัวประกอบเฉพาะของจำนวนเต็ม
จำนวนเต็มบวกทุกจำนวนสามารถแยกตัวประกอบเฉพาะและได้ผลลัพธ์เพียงแบบเดียวตามทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต เราสามารถแยกตัวประกอบของจำนวนเต็มโดยการหารจำนวนนั้นด้วยจำนวนเฉพาะซ้ำๆ จนกว่าจะไม่มีจำนวนเฉพาะอื่นใดหารได้ จะได้ว่าจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวหารทั้งหมดคือตัวประกอบของจำนวนนั้น ซึ่งวิธีการนี้เป็นขั้นตอนวิธีหลักของการแยกตัวประกอบจากจำนวนเต็มซึ่งใช้ได้ผลกับจำนวนน้อยๆ สำหรับจำนวนเต็มขนาดใหญ่ยังไม่มีขั้นตอนวิธีใดที่มีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปเพื่อแยกตัวประกอบจำนวนขนาดเล็ก ไปเลย

[แก้] การแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง

พหุนามกำลังสองใดๆ บนจำนวนเชิงซ้อน (คือพหุนามที่อยู่ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a,b,c \in \mathbb{C}) สามารถแยกตัวประกอบให้เป็นนิพจน์ที่อยู่ในรูป a (x - \alpha) (x - \beta) \! เมื่อ α และ β คือรากของพหุนาม ซึ่งคำนวณได้จากสูตรกำลังสองดังนี้
ax^2 + bx + c = a (x - \alpha) (x - \beta) = a\left (x - \left (\frac{-b + \sqrt{b^2-4ac}}{2a}\right) \right) \left (x - \left (\frac{-b - \sqrt{b^2-4ac}}{2a}\right) \right)

[แก้] พหุนามที่สามารถแยกได้บนจำนวนเต็ม

บางครั้งพหุนามกำลังสองสามารถแยกออกได้เป็นทวินาม (binomial) สองตัวด้วยสัมประสิทธิ์ที่เป็นจำนวนเต็ม โดยไม่จำเป็นต้องใช้สูตรกำลังสองในการคำนวณ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการหารากของสมการกำลังสอง โดยที่พหุนาม
ax^2+bx+c\!
สามารถแยกได้เป็น
 (mx+p) (nx+q) \!
เมื่อ
mn = a\!
pq = c\!
pn + mq = b\!
จากนั้นจึงให้ทวินามแต่ละตัวเท่ากับศูนย์ แล้วคำนวณหาค่าของ x เพื่อหารากของสมการกำลังสอง

[แก้] ไตรนามกำลังสองสมบูรณ์

แผนภาพที่พิสูจน์ว่า
(a+b) ² = a²+2ab+b²
พหุนามกำลังสองบางชนิดสามารถแยกตัวประกอบออกได้เป็นทวินามที่เหมือนกัน พหุนามนั้นเรียกว่า ไตรนามกำลังสองสมบูรณ์ หรือเพียงแค่ กำลังสองสมบูรณ์ ซึ่งพหุนามดังกล่าวสามารถแยกได้ดังนี้
a^2 + 2ab + b^2 = (a + b) (a + b) = (a + b) ^2\!
a^2 - 2ab + b^2 = (a - b) (a - b) = (a - b) ^2\!

[แก้] ผลบวกและผลต่างกำลังสอง

ดูบทความหลักที่ ผลต่างกำลังสอง
การแยกตัวประกอบทางพีชคณิตอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ผลต่างกำลังสอง มีสูตรดังนี้
a^2 - b^2 = (a-b) (a+b) \!
ซึ่งเป็นจริงสำหรับทั้งสองพจน์ ไม่ว่าจำนวนเหล่านั้นจะเป็นกำลังสองสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าพจน์ทั้งสองลบกัน ก็ให้แทนด้วยสูตรดังกล่าวได้ทันที แต่ถ้าพจน์ทั้งสองบวกกัน ทวินามที่ได้จากการแยกตัวประกอบจะต้องมีจำนวนจินตภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงได้ดังนี้
a^2 + b^2 = (a+bi) (a-bi) \!
ตัวอย่างเช่น 4x2 + 49 สามารถแยกได้เป็น (2x + 7i)(2x − 7i) เป็นต้น

[แก้] การแยกตัวประกอบพหุนามอื่น ๆ

[แก้] ผลบวกและผลต่างกำลังสาม

สูตรสำหรับการแยกตัวประกอบของผลบวกและผลต่างกำลังสามเป็นดังนี้ ผลบวกสามารถแยกตัวประกอบเป็น
 a^3 + b^3 = (a + b)(a^2 - ab + b^2)\!
และผลต่างสามารถแยกตัวประกอบเป็น
 a^3 - b^3 = (a - b)(a^2 + ab + b^2)\!
เช่น x3 − 103 (or x3 − 1000) สามารถแยกตัวประกอบเป็น (x − 10)(x2 + 10x + 100)

ที่มาจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น